การพัฒนาด้านระบบการสื่อสารทําให้ปัจจุบันเราสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากที่ใดก็ได้
โดยผู้ใช้จะต้องทําการเชื่อมต่อผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือเรียกว่า ไอเอสพี
(ISP : Internet Service Provider) โดยไอเอสพีแต่ละรายจะครอบคลุมพื้นที่การให้บริการที่แตกต่างกันไป
เช่น ให้บริการครอบคลุมระดับทวีป ให้บริการครอบคลุมระดับภูมิภาค
ให้บริการครอบคลุมระดับประเทศ เป็นต้น
ซึ่งไอเอสพีรายย่อยอาจจะอยู่ภายใต้การให้บริการเดียวกันจากไอเอสพีรายใหญ่
เมื่อเชื่อมต่อเข้าไปในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้วจะทําให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้แบบไร้พรหมแดนด้วยรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลาย
องค์ประกอบของระบบสื่อสาร
การที่ผู้รับและผู้ส่งจะสามารถสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลระหว่างกันได้นั้น
จําเป็นจะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆเข้ามาเกี่ยวข้องกันเรียกว่า ระบบการสื่อสาร
โดยจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สําคัญ ดังนี้
1) อุปกรณ์ส่งและรับข้อมูล (sending and
receiving devices) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง
ๆที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่จะส่งออกไปและสามารถรับข้อมูลเพื่ออ่านได้ เช่น
เครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต(tablet) สมาร์ทโฟน (smart phone) เป็นต้น
2) อุปกรณ์เชื่อมต่อ (connection
devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าอุปกรณ์ส่งช่องทางการสื่อสาร
และอุปกรณ์ส่ง
และจะทําหน้าที่แปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบที่อุปกรณ์ส่งและรับสามารถเข้าใจกันได้
3) การกําหนดรูปแบบในการส่งข้อมูล (data
transmission specification) เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายสามารถมีได้หลายรูปแบบ
ดังนั้นอุปกรณ์รับและอุปกรณ์ส่งจะต้องมีการกําหนดรูปแบบที่ชัดเจนในการส่งข้อมูลระหว่างกัน
4) ช่องทางสื่อสาร (communication
channel) ทําหน้าที่เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง
ซึ่งอาจจะเป็นสื่อกลางที่เป็นสายสัญญาณหรือเป็นสื่อกลางแบบไร้สาย
อุปกรณ์ส่งและรับข้อมูลก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ปลายทางทั้งด้านรับและส่งนั่นเอง
1. อุปกรณ์เชื่อมต่อ
อุปกรณ์มาตรฐานที่ใช้ในการเชื่อมต่อคือ โมเด็ม (Modem :
modulator-demodulator) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถแปลงจากสัญญาณดิจิทัล
(digital) ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก (analog) หรือสามารถแปลงจากสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล
ซึ่งสามารถนํามาใช้ในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางซึ่งทํางานในระบบดิจิทัล
โดยจะทําการแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก
เพื่อสามารถส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มปลายทางแล้วทําการแปลงกลับให้เป็นสัญญาณดิจิทัลเพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางจะสามารถเข้าใจข้อมูลที่ส่งมาได้
สามารถแบ่งชนิดโมเด็มได้ ดังนี้
1.1 โมเด็มแบบไดแอลอัพ (dial-up modem) เป็นโมเด็มที่ใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์บ้าน แต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลในระดับต่ํา ขณะที่ใช้งานจะไม่สามารถใช้โทรศัพท์ไปพร้อม ๆ กันได้มีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์
1.2 ดีเอสแอลโมเด็ม (DSL modem) เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อที่รองรับเทคโนโลยี
xDSL ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทําให้สามารถส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลผ่าน
เครือข่ายโทรศัพท์พร้อมกันด้วยความเร็วสูงเทคโนโลยี
xDSL มีหลายชนิด เช่น ADSL, SDSL, HDSL, และ
VDSL เป็นต้น แต่ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือ ADSL
1.3 เคเบิลโมเด็ม (cable modem) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับสายโคแอกซ์เชียล(coaxial cable) หรือเครือข่ายสายเคเบิลทีวี (cable TV) เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสามารถส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยใช้สายเดียวกัน
2. ช่องทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย โดยสามารถแบ่งออกเป็น2 ประเภท ดังนี้
2.1 การเชื่อมต่อผ่านสายสัญญาณ
เป็นการเชื่อมต่อที่จะต้องมีสายสัญญาณในการเชื่อมต่อระหว่างต้นทางไปยังปลายทาง
โดยสายสัญญาณที่ใช้มี ดังนี้
2.1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted
pair cable) เป็นสายสัญญาณที่ประกอบด้วยสายทองแดงบิดเกลียวกันเป็นคู่
มีราคาถูก ติดตั้งง่าย
นิยมใช้สําหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในอาคารที่มีระยะการเชื่อมต่อไม่เกิน
100 เมตร โดยแยกประเภทของสายคู่บิดเกลียวตามมาตรฐานเป็น แคทีกอรี (category)
เช่น cat5, cat5e, cat6,
และ cat7 เป็นต้น
นอกจากนี้อาจสามารถแบ่งสายคู่บิดเกลียวเป็น 2 ชนิดคือ
สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP) ซึ่งนิยมใช้กันทั่วไปเพราะมีราคาถูก
และสายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair : STP) ซึ่งมีราคาแพงกว่าแต่สามารถป้องกันการรบกวนของสัญญาณได้ดีกว่า
2.1.2 สายโคแอกซ์เชียล (coaxial
cable) เป็นสายสัญญาณที่มีลวดทองแดงอยู่ตรงกลางภายนอกหุ้มด้วยฉนวนจึงสามารถป้องกันการรบกวนได้ดี
สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าและไกลกว่าสายคู่บิดเกลียว
นิยมนํามาใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์และเคเบิลทีวี
2.1.3 สายเส้นใยแก้วนําแสง (fiber
optic cable) ประกอบด้วยแกนกลางที่ผลิตจากใยแก้วบริสุทธิ์หุ้มด้วยเปลือกหรือแคดดิง
(cladding) ส่งข้อมูลโดยใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านไปยังสายใยแก้วนําแสง
ซึ่งสามารถรองรับการส่งข้อมูลปริมาณมากและส่งได้ในระยะทางไกล
นิยมเดินเป็นสายสื่อสารหลักของเครือข่าย
3.
การเชื่อมต่อแบบไร้สาย
เป็นการส่งสัญญาณหรือคลื่นผ่านอากาศโดยไม่ต้องมีการเดินสายจากต้นทางไปยังปลายทาง
ทําให้มีความสะดวกในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายโดยจะช่วยลดข้อจํากัดเกี่ยวกับพื้นที่ในการเชื่อมต่อ
โดยสามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายผ่านสื่อกลางต่าง ๆ ดังนี้
3.1.1 บลูทูธ (Bluetooth) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่ใช้คลื่นวิทยุพลังงานต่ําในการส่งข้อมูล โดยสามารถส่งข้อมูลได้ในระยะใกล้ ไม่เกิน 10เมตร นิยมนํามาใช้ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น การส่งไฟล์ระหว่างโทรศัพท์มือถือ การใช้หูฟังแบบบลูทูธกับโทรศัพท์มือถือ การสั่งพิมพ์งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เป็นต้น ซึ่งประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลของสัญญาณบลูทูธจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์และจํานวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ หากจํานวนอุปกรณ์ที่นํามาเชื่อมต่อมากเกินไปอาจจะทําให้เกิดการรบกวนในการส่งสัญญาณได้
แต่เนื่องจากความโค้งของผิวโลก สิ่งปลูกสร้าง
ต้นไม้ หรือภูเขา เหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคในการส่งสัญญาณ
3.1.3 ดาวเทียม (satellite) เป็นการสื่อสารด้วยไมโครเวฟโดยใช้ดาวเทียมในการรับส่งข้อมูลกับสถานีภาคพื้นดิน โดยการส่งข้อมูลจากสถานีภาคพื้นดินไปยังดาวเทียมเรียกว่า อัพลิงค์ (uplink) และการส่งข้อมูลจากดาวเทียวมายังสถานีภาคพื้นดินเรียกว่า ดาวน์ลิงค์ (downlink) ซึ่งจะทําให้สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันได้ในระยะไกลขึ้น
3.1.4 วายฟาย (wireless fidelity : Wi-Fi) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายโดยอาศัยอุปกรณ์กระจายสัญญาณที่เรียกว่า แอคเซสพอยต์ (access point) หรือ ฮอตสปอต (hotspot) ซึ่งจะทําหน้าที่กระจายสัญญาณให้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ในเครือข่ายให้สามารถสื่อสารกันได้ นอกจากนี้โดยส่วนมากตัวแอคเซสพอยต์จะเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตและทําให้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับตัวมันสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ระยะทําการของแอคเซสพอยต์ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม โดยครอบคลุมประมาณ 20 เมตรในอาคารและอาจไกลได้ถึง 100 เมตรในที่โล่งแจ้ง
3.1.5 วายแม็ก (WiMAX : Worldwide Interoperability of Microwave Access)ถูกพัฒนามาจากเครือข่ายวายฟายเพื่อให้สามารถครอบคลุมพื้นที่การติดต่อสื่อสารให้กว้างขึ้นโดยสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ประมาณ 50 กิโลเมตร และสามารถทํางานได้ดีแม้มีสิ่งกีดขวาง
3.1.6 เครือข่ายเซลลูลาร์ (cellular network) หรือ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่(mobile network) สามารถขยายพื้นที่การบริการได้อย่างต่อเนื่องในรูปแบบการแบ่งพื้นที่เป็นเซลล์ (cell)
เพื่อให้บริการเชื่อมต่อกันได้หมด
ในแต่ละเซลล์จะมีการติดตั้งเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุเรียกว่าสถานีฐาน(base
station) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ
ซึ่งแต่ละเซลล์จะมีรัศมีของการให้บริการอยู่ที่ 250 เมตรถึง 30 กิโลเมตร
ซึ่งปัจจุบันเป็นการเชื่อมต่อที่ได้รับความนิยมมาก
และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องโดยมีพัฒนาการดังนี้
1G เป็นมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคแรก ทํางานในระบบอนาล็อก ใช้สําหรับส่งสัญญาณเสียงเป็นหลัก
1G เป็นมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคแรก ทํางานในระบบอนาล็อก ใช้สําหรับส่งสัญญาณเสียงเป็นหลัก
2G เป็นมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่
2 สื่อสารด้วยระบบดิจิทัล เริ่มมีการส่งข้อมูล (data) เช่นข้อความสั้น
และสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
3G เป็นมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่
3 มีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ทําให้สามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้
4G เป็นมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่
4 ถูกพัฒนาให้มีความสามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้นอีก
จึงสามารถใช้มัลติมีเดียได้อย่างเต็มที่ เช่น ประชุมทางไกล ดูหนัง ฟังเพลง
โดยไม่สะดุด นับได้ว่าเป็นมาตรฐานในยุคปัจจุบัน