สวัสดีค่ะทุกท่านที่เข้ามาชมบล็อกของดิฉัน

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

       เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ รวมไปถึงความบันเทิง โดยผ่านบริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต เช่น

1. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW)





        เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการเรียกดูเว็บไซต์ โดยจะต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Google Chrome,Netscape Navigator, Mozilla Firefox เป็นต้น เดิมมีเพียงตัวอักษรและภาพนิ่ง แต่ปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) คือเป็นการโต้ตอบระหว่างสื่อกับผู้ใช้ โดยมีทั้งรูปภาพข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ


2. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : E-mail)



         ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (e-mail) เป็นบริการรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือเป็นการส่งจดหมายจากต้นทางถึงผู้รับที่มีบัญชีอินเทอร์เน็ตด้วยกัน ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลสามารถทําได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทํางานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา แต่สามารถส่งรูปภาพ และไฟล์รูปแบบต่าง ๆ แนบไปด้วยได้ การส่งอีเมลจะต้องประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
           2.1 อีเมลแอดเดรส (E-mail address) เป็นที่อยู่ของผู้รับหรือผู้ที่ต้องการจะส่งอีเมลสําเนาไปถึงองค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐาน 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (user name) และชื่อโดเมน (domain name) โดยในการเขียนจะมีเครื่องหมาย @ คั่นกลาง ดังนี้
username@domain_name
           2.2 หัวข้อ (Subject) เป็นข้อความสั้น ๆ สําหรับบ่งบอกหัวเรื่องที่จะส่ง โดยจะปรากฏให้เห็นที่กล่องจดหมายเข้าของผู้รับจดหมาย
           2.3 สิ่งที่แนบ (Attachment) เป็นไฟล์ชนิดต่าง ๆ ที่แนบไปพร้อมกับจดหมายที่ส่ง
           2.4 จดหมายหรือข้อความ (Message) จะเป็นส่วนของการเขียนข้อความ รายละเอียดที่ต้องการสื่อสารหรือแจ้งให้ผู้รับได้เข้าใจ และส่วนของการเขียนคําลงท้าย และส่วนสุดท้ายจะมีลายเซ็น(signature) ซึ่งจะบอกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ส่ง โดยทั่วไปจะเป็นชื่อผู้ส่ง ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ รวมถึงชื่อหน่วยงานและ ลายเซ็นผู้ส่ง

3. บริการถ่ายโอนไฟล์ (File Transfer Protocol : FTP)

        เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นิยมใช้เป็นเครื่องมือของผู้พัฒนาเว็บไซต์ในการอับโหลดและดาวน์โหลดไฟล์ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (server) และไคลเอนต์ (client) เอฟทีพีได้รับความนิยมในการถ่ายโอนไฟล์ตั้งแต่อดีตจนถึงกระทั่งปัจจุบัน สําหรับโปรแกรมเอฟทีพีที่นิยมใช้กันมาก เช่น WS_FTP, CuteFTP การถ่ายโอนไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้
           3.1 การดาวน์โหลดไฟล์ (download file) คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น กรณีที่ทําการดาวน์โหลดโปรแกรมติดตั้งซอฟต์แวร์จากเครื่องบริการมาที่เครื่องของผู้ใช้
           3.2 การอัพโหลดไฟล์ (upload file) การอัพโหลดไฟล์ คือการนําไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทําการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (web server) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่

4. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Messaging : IM)

       เป็นบริการที่ทําให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ในแบบทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ รูปภาพ และไฟล์ข้อมูลได้ด้วย ในการใช้งานโปรแกรมอินสแตนท์เมสเซจจิง ผู้ใช้งานจะต้องลงทะเบียนกับผู้ให้บริการก่อน และจะต้องกําหนดรายชื่อเพื่อนหรือผู้ที่ต้องการติดต่อไว้กับเครื่องบริการด้วยเมื่อไรก็ตามที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโปรแกรมนี้จะติดต่อไปยังเครื่องให้บริการ เพื่อแจ้งหรือแสดงสถานะให้เห็นว่าตนเองกําลังออนไลน์ จากนั้นผู้ใช้งานแต่ละคนที่กําลังออนไลน์ก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ รูปแบบของการสื่อสารจะเป็นการสนทนาด้วยการพิมพ์ข้อความ หรือติดต่อกันด้วยภาพ และเสียง (video conference)สามารถแชร์ไฟล์ และควบคุมการช่วยเหลือระยะไกลได้ องค์กรธุรกิจจํานวนมากได้นําคุณสมบัติการส่งข้อความแบบโต้ตอบนี้ในการดําเนินธุรกิจของตนเอง โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กําลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Google Hangout, Facebook Messenger, Line เป็นต้น

5. บริการสังคมออนไลน์ (Social Media หรือ Social Network)

       โซเชียลมีเดีย หมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราวประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทําขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนํามาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันผ่านทางเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ต บริการของโซเชียลมีเดียโดยทั่วไปมีหลากหลายรูปแบบ เช่น บล็อกหรือเว็บบล็อก วิกิ พ็อดคาสท์ไมโครบล็อก เฟซบุ๊คกูเกิ้ลพลัส และลิงค์อิน เป็นต้น
           5.1 บล็อก (Blogs) หรือ เว็บบล็อก (Weblogs) เป็นเครื่องมือที่สร้างเว็บส่วนตัวเพื่อติดต่อกับเพื่อนและครอบครัวโดยการเขียนข้อความบอกเล่าเรื่องราวที่ประทับใจ การเขียนบล็อกเป็นการจัดเรียงเวลาและข้อความที่เขียนล่าสุดขึ้นก่อน ผู้ใช้ที่เข้าไปอ่านสามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นได้ บางบล็อกจะคล้ายกับเป็นไดอารี่ออนไลน์ ผู้เขียนบล็อกจะเขียนในเรื่องราวส่วนตัว งานอดิเรก หรือเรื่องราวที่ผู้เขียนสนใจอยากจะเล่าและแชร์ประสบการณ์ให้คนอื่นได้รับรู้ เว็บบล็อกที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ Blogger และWordPress เป็นต้น
           5.2 วิกิ (wiki) เป็นเว็บไซต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าไปแก้ไขเนื้อหาข้อมูลในเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ แต่จะมีผู้ดูแลที่ได้รับการเสนอชื่อจากผู้เข้าใช้เว็บไซต์ช่วยดูแลกลั่นกรองเนื้อหา วิกิถูกสร้างมาเพื่อความร่วมมือในการเขียนของกลุ่มคนที่มีความสนใจและเชี่ยวชาญในเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อสร้างฐานความรู้          
           5.3 พ็อดคาสท์ (Podcast) เป็นการนําเสนอสื่อบันเทิงจําพวกเพลง และภาพยนตร์ผ่านสื่อกลางอินเทอร์เน็ตไปสู่คอมพิวเตอร์ ให้ผู้ชมสามารถรับชมและรับฟังได้ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยปกติแล้วพ็อดคาสท์จะเป็นเทปบันทึกเสียงหรือวิดีโอต้นฉบับ แต่ในบางครั้งก็อาจเป็นเทปบันทึกรายการโทรทัศน์หรือรายการวิทยุที่ออกอากาศจริง การบรรยาย การแสดง หรืออีเวนท์อื่น ๆ เปรียบได้กับสถานีที่รวมทั้งวิทยุ และโทรทัศน์
ออนไลน์ มาไว้ในที่เดียวกัน ผู้ใช้สามารถเลือกจะสมัครเป็นสมาชิกรายการต่าง ๆ ในพ็อดคาสท์ได้ และดาวน์โหลดมาเก็บไว้ฟังในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา สิ่งที่พิเศษของพ็อดคาสท์ก็คือ ผู้ใช้สมัคร (subscribe) รายการที่สนใจไว้กับผู้ผลิต หากมีรายการใหม่ ๆ อัพโหลดขึ้นมา รายการเหล่านั้นจะถูกดาวน์โหลดเข้ามาในเครื่องของผู้ใช้ได้แบบอัตโนมัติ ตัวอย่างโปรแกรมที่ได้รับความนิยมมากก็คือ iTune ของค่าย Apple
           5.4 ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นการเผยแพร่ข้อความหรือประโยคที่เขียนขึ้นมาสั้น ๆ อาจเป็นไฟล์รูปภาพ หรือสื่อผสมที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก การเขียนแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ กะทัดรัดมากกว่าบล็อก ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถเลือกหัวข้อจากบล็อกอื่นให้มาปรากฏในไมโครบล็อกของตนเอง หรือติดตามสมาชิกอื่น ๆ ได้ ไมโครบล็อกถูกออกแบบมาเพื่อให้เพื่อนหรือผู้ติดตามได้อับเดทกิจกรรมหรือเรื่องที่เจ้าของบล็อกสนใจ ปัจจุบันไมโครบล็อกที่นิยมอย่างแพร่หลาย คือ ทวิตเตอร์ (Twitter) ที่สามารถให้โพสต์จากเว็บเบราว์เซอร์ แอปพลิเคชั่นสําหรับส่งข้อความ หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือ
           5.5 เฟซบุ๊ค (Facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีจุดเริ่มจากกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด โดยมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberk) และกลุ่มเพื่อน ๆ ได้สร้างเครือข่ายสําหรับกลุ่มเพื่อนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้แชร์เรื่องราว กิจกรรม ให้เพื่อนนักศึกษาด้วยกันทราบ ต่อมาได้รับความนิยมมากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนออนไลน์ มีผู้ใช้กว่าพันล้านบัญชีรายชื่อ ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ แบ่งปันรูปภาพ วีดีโอ เล่นเกมร่วมกันได้รวมถึงได้รับแจ้งโดยทันทีเมื่อผู้ใช้งานปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทํางาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรืออื่น ๆ เฟซบุ๊กอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าสมัครลงทะเบียนกับเฟซบุ๊ก โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป
           5.6 กูเกิ้ลพลัส (Google+) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ให้บริการโดยกูเกิ้ล เป็นการผสมผสานการบริการต่าง ๆ ของกูเกิ้ลที่มีอยู่ก่อนหน้านี้กับการบริการใหม่ ๆ เช่น กูเกิลบัซซ์, กูเกิลโพรไฟล์, กูเกิลทอล์ก, ไซเคิล, แฮงเอาท์สปาร์ก เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการรับรองการทํางานผ่านเว็บเบราว์เซอร์แอปพลิเคชันของแอนดรอยด์ และ แอปพลิเคชันของไอโอเอสสําหรับไอโฟน
           5.7 ลิงค์อิน (LinkedIn) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ชั้นนําทางธุรกิจ แม้ว่าจะไม่มีขนาดใหญ่เหมือนกับเฟชบุ๊กหรือกูเกิ้ลพลัส แต่เป็นเว็บไซต์ที่มุ่งเน้นความเชี่ยวชาญด้านอาชีพ เป็นเครื่องมืออํานวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ การพัฒนาขยายธุรกิจ การค้นคว้าข้อมูลทางธุรกิจ และการค้นหางานและอื่น ๆ เป็นต้น เป็นต้น
           5.8 ยูทูบ (YouTube) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เน้นการแบ่งปันวิดีโอโดยเฉพาะ โดยให้ผู้ใช้ผลิตวิดีโอของตัวเองและนํามาแบ่งปันได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต ความนิยมของ YouTube นั้น ทําให้ผู้คนสนใจโทรทัศน์น้อยลง เพราะสามารถเลือกชมสิ่งต่างๆได้ตามที่ต้องการ (on demand) อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถจัดรายการต่าง ๆ โดยจัดทําช่อง (channel) ลงบน YouTube เพื่อขยายฐานลูกค้า และให้ผู้ชมสามารถเข้าชมย้อนหลังได้อีกด้วย

6. โปรแกรมการค้นหา

       โปรแกรมแกรมการค้นหา (Search Engine) เป็นโปรแกรมพิเศษที่ช่วยในการค้นหาสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เว็บไซต์ที่มีบริการการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เช่น ยาฮู (Yahoo) กูเกิ้ล เป็นต้นการบริการการค้นหาข้อมูลที่ต้องการบนอินเทอร์เน็ต แบ่งการบริการการค้นหาได้เป็น 2 รูปแบบได้แก่
           6.1 การค้นหาข้อมูลแบบใส่คําหลักหรือคําสําคัญ (Keyword Search) ของสารสนเทศที่ต้องการจะค้นหา โปรแกรมค้นหาจะเทียบเคียงคําที่ใส่ลงไปในฐานข้อมูลที่มีอยู่ แล้วรายงานจํานวนรายการเว็บไซต์ที่ค้นเจอ (Hit) พร้อมแสดงรายการเว็บไซต์กลับมายังหน้าเว็บแรกของการค้นหา ผลการค้นหาจากคําหลักจะปรากฏขึ้นเป็นจํานวนมาก ตัวอย่างเช่น หากต้องการค้นหาคําว่าเข็มทิศ (Compass) จะพบข้อมูลมากมายที่ตรงกับคําว่าเข็มทิศ ดังภาพที่ 2.18
           6.2 การค้นหาแบบไดเรกเทอรี่ (directory search) หรือเป็นการค้นหาแบบหมวดหมู่ เป็นการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการโดยระบุไดเรกทอรี่หรือรายการที่ต้องการที่แยกตามประเภท หมวดหมู่ หรือหัวข้อเช่น สุขภาพ บันเทิง ข่าว การเงิน เศรษฐกิจ เป็นต้น เมื่อเลือกหัวข้อที่ต้องการจะปรากฏรายการหัวข้อย่อยภายใต้หัวข้อหลักที่เลือก ผู้ใช้จะเลือกหัวข้อย่อยที่ตรงตามความต้องการลงไปเรื่อย ๆ จนปรากฏรายงานเว็บไซต์ที่ต้องการ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาแบบไดเรกเทอรี่ได้แก่ dir.sanook.com และdir.yahoo.com เป็นต้น
ชีวิตกับอินเตอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

         การพัฒนาด้านระบบการสื่อสารทําให้ปัจจุบันเราสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากที่ใดก็ได้ โดยผู้ใช้จะต้องทําการเชื่อม...