สวัสดีค่ะทุกท่านที่เข้ามาชมบล็อกของดิฉัน

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563



        การพัฒนาด้านระบบการสื่อสารทําให้ปัจจุบันเราสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากที่ใดก็ได้ โดยผู้ใช้จะต้องทําการเชื่อมต่อผ่านผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือเรียกว่า ไอเอสพี (ISP : Internet Service Provider) โดยไอเอสพีแต่ละรายจะครอบคลุมพื้นที่การให้บริการที่แตกต่างกันไป เช่น ให้บริการครอบคลุมระดับทวีป ให้บริการครอบคลุมระดับภูมิภาค ให้บริการครอบคลุมระดับประเทศ เป็นต้น ซึ่งไอเอสพีรายย่อยอาจจะอยู่ภายใต้การให้บริการเดียวกันจากไอเอสพีรายใหญ่ เมื่อเชื่อมต่อเข้าไปในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแล้วจะทําให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้แบบไร้พรหมแดนด้วยรูปแบบการสื่อสารที่หลากหลาย

องค์ประกอบของระบบสื่อสาร

       การที่ผู้รับและผู้ส่งจะสามารถสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลระหว่างกันได้นั้น จําเป็นจะต้องมีองค์ประกอบต่าง ๆเข้ามาเกี่ยวข้องกันเรียกว่า ระบบการสื่อสาร โดยจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่สําคัญ ดังนี้

1) อุปกรณ์ส่งและรับข้อมูล (sending and receiving devices) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลที่จะส่งออกไปและสามารถรับข้อมูลเพื่ออ่านได้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต(tablet) สมาร์ทโฟน (smart phone) เป็นต้น

2) อุปกรณ์เชื่อมต่อ (connection devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทําหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าอุปกรณ์ส่งช่องทางการสื่อสาร และอุปกรณ์ส่ง และจะทําหน้าที่แปลงสัญญาณให้อยู่ในรูปแบบที่อุปกรณ์ส่งและรับสามารถเข้าใจกันได้

3) การกําหนดรูปแบบในการส่งข้อมูล (data transmission specification) เนื่องจากรูปแบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายสามารถมีได้หลายรูปแบบ ดังนั้นอุปกรณ์รับและอุปกรณ์ส่งจะต้องมีการกําหนดรูปแบบที่ชัดเจนในการส่งข้อมูลระหว่างกัน

4) ช่องทางสื่อสาร (communication channel) ทําหน้าที่เป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจจะเป็นสื่อกลางที่เป็นสายสัญญาณหรือเป็นสื่อกลางแบบไร้สาย
       อุปกรณ์ส่งและรับข้อมูลก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ปลายทางทั้งด้านรับและส่งนั่นเอง

1. อุปกรณ์เชื่อมต่อ
       อุปกรณ์มาตรฐานที่ใช้ในการเชื่อมต่อคือ โมเด็ม (Modem : modulator-demodulator) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สามารถแปลงจากสัญญาณดิจิทัล (digital) ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก (analog) หรือสามารถแปลงจากสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล ซึ่งสามารถนํามาใช้ในการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางซึ่งทํางานในระบบดิจิทัล โดยจะทําการแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เพื่อสามารถส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มปลายทางแล้วทําการแปลงกลับให้เป็นสัญญาณดิจิทัลเพื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางจะสามารถเข้าใจข้อมูลที่ส่งมาได้ สามารถแบ่งชนิดโมเด็มได้ ดังนี้
         


        1.1 โมเด็มแบบไดแอลอัพ (dial-up modem) เป็นโมเด็มที่ใช้เชื่อมต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์บ้าน แต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลในระดับต่ํา ขณะที่ใช้งานจะไม่สามารถใช้โทรศัพท์ไปพร้อม ๆ กันได้มีทั้งแบบติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์และติดตั้งภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์ 



        1.2 ดีเอสแอลโมเด็ม (DSL modem) เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อที่รองรับเทคโนโลยี xDSL ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทําให้สามารถส่งสัญญาณเสียงและข้อมูลผ่าน
เครือข่ายโทรศัพท์พร้อมกันด้วยความเร็วสูงเทคโนโลยี xDSL มีหลายชนิด เช่น ADSL, SDSL, HDSL, และ VDSL เป็นต้น แต่ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันคือ ADSL
          


        1.3 เคเบิลโมเด็ม (cable modem) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับสายโคแอกซ์เชียล(coaxial cable) หรือเครือข่ายสายเคเบิลทีวี (cable TV) เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและสามารถส่งสัญญาณโทรทัศน์โดยใช้สายเดียวกัน

2. ช่องทางการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต            
       
        การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสามารถเชื่อมต่อช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย โดยสามารถแบ่งออกเป็น2 ประเภท ดังนี้
           2.1 การเชื่อมต่อผ่านสายสัญญาณ เป็นการเชื่อมต่อที่จะต้องมีสายสัญญาณในการเชื่อมต่อระหว่างต้นทางไปยังปลายทาง โดยสายสัญญาณที่ใช้มี ดังนี้
                   2.1.1 สายคู่บิดเกลียว (twisted pair cable) เป็นสายสัญญาณที่ประกอบด้วยสายทองแดงบิดเกลียวกันเป็นคู่ มีราคาถูก ติดตั้งง่าย นิยมใช้สําหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในอาคารที่มีระยะการเชื่อมต่อไม่เกิน 100 เมตร โดยแยกประเภทของสายคู่บิดเกลียวตามมาตรฐานเป็น แคทีกอรี (category) เช่น cat5, cat5e, cat6, และ cat7 เป็นต้น นอกจากนี้อาจสามารถแบ่งสายคู่บิดเกลียวเป็น 2 ชนิดคือ สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair : UTP) ซึ่งนิยมใช้กันทั่วไปเพราะมีราคาถูก และสายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair : STP) ซึ่งมีราคาแพงกว่าแต่สามารถป้องกันการรบกวนของสัญญาณได้ดีกว่า
                   2.1.2 สายโคแอกซ์เชียล (coaxial cable) เป็นสายสัญญาณที่มีลวดทองแดงอยู่ตรงกลางภายนอกหุ้มด้วยฉนวนจึงสามารถป้องกันการรบกวนได้ดี สามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าและไกลกว่าสายคู่บิดเกลียว นิยมนํามาใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์และเคเบิลทีวี
                   2.1.3 สายเส้นใยแก้วนําแสง (fiber optic cable) ประกอบด้วยแกนกลางที่ผลิตจากใยแก้วบริสุทธิ์หุ้มด้วยเปลือกหรือแคดดิง (cladding) ส่งข้อมูลโดยใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านไปยังสายใยแก้วนําแสง ซึ่งสามารถรองรับการส่งข้อมูลปริมาณมากและส่งได้ในระยะทางไกล นิยมเดินเป็นสายสื่อสารหลักของเครือข่าย

3. การเชื่อมต่อแบบไร้สาย
       เป็นการส่งสัญญาณหรือคลื่นผ่านอากาศโดยไม่ต้องมีการเดินสายจากต้นทางไปยังปลายทาง ทําให้มีความสะดวกในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายโดยจะช่วยลดข้อจํากัดเกี่ยวกับพื้นที่ในการเชื่อมต่อ โดยสามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายผ่านสื่อกลางต่าง ๆ ดังนี้
                   


        3.1.1 บลูทูธ (Bluetooth) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายที่ใช้คลื่นวิทยุพลังงานต่ําในการส่งข้อมูล โดยสามารถส่งข้อมูลได้ในระยะใกล้ ไม่เกิน 10เมตร นิยมนํามาใช้ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น การส่งไฟล์ระหว่างโทรศัพท์มือถือ การใช้หูฟังแบบบลูทูธกับโทรศัพท์มือถือ  การสั่งพิมพ์งานจากเครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค เป็นต้น ซึ่งประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลของสัญญาณบลูทูธจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของอุปกรณ์และจํานวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ หากจํานวนอุปกรณ์ที่นํามาเชื่อมต่อมากเกินไปอาจจะทําให้เกิดการรบกวนในการส่งสัญญาณได้
                   
        3.1.2 ไมโครเวฟ (Microwave) เป็นคลื่นวิทยุชนิดซึ่งมีคุณสมบัติเดินทางเป็นเส้นตรง และถูกลดทอนสัญญาณจากสิ่งกีดขวางแม้แต่เมฆ ฝน หรือชั้นบรรยากาศ ในทางการสื่อสารจึงนํามาใช้ส่งสัญญาณในระดับสายตาที่ไม่มีสิ่งกีดขวาง โดยสถานีรับและสถานีส่งจะต้องมีจานรับส่งสัญญาณที่หันเข้าหากัน โดยสถานีมักตั้งห่างกันในระยะประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งความจริงคลื่นไมโครเวฟสามารถเดินทางได้ไกลกว่านี้
แต่เนื่องจากความโค้งของผิวโลก สิ่งปลูกสร้าง ต้นไม้ หรือภูเขา เหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคในการส่งสัญญาณ
       
        3.1.3 ดาวเทียม (satellite) เป็นการสื่อสารด้วยไมโครเวฟโดยใช้ดาวเทียมในการรับส่งข้อมูลกับสถานีภาคพื้นดิน โดยการส่งข้อมูลจากสถานีภาคพื้นดินไปยังดาวเทียมเรียกว่า อัพลิงค์ (uplink) และการส่งข้อมูลจากดาวเทียวมายังสถานีภาคพื้นดินเรียกว่า ดาวน์ลิงค์ (downlink) ซึ่งจะทําให้สามารถส่งข้อมูลระหว่างกันได้ในระยะไกลขึ้น
                   
        3.1.4 วายฟาย (wireless fidelity : Wi-Fi) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สายโดยอาศัยอุปกรณ์กระจายสัญญาณที่เรียกว่า แอคเซสพอยต์ (access point) หรือ ฮอตสปอต (hotspot) ซึ่งจะทําหน้าที่กระจายสัญญาณให้กับอุปกรณ์อื่น ๆ ในเครือข่ายให้สามารถสื่อสารกันได้ นอกจากนี้โดยส่วนมากตัวแอคเซสพอยต์จะเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตและทําให้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับตัวมันสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ระยะทําการของแอคเซสพอยต์ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม โดยครอบคลุมประมาณ 20 เมตรในอาคารและอาจไกลได้ถึง 100 เมตรในที่โล่งแจ้ง
                   
        3.1.5 วายแม็ก (WiMAX : Worldwide Interoperability of Microwave Access)ถูกพัฒนามาจากเครือข่ายวายฟายเพื่อให้สามารถครอบคลุมพื้นที่การติดต่อสื่อสารให้กว้างขึ้นโดยสามารถครอบคลุมพื้นที่ได้ประมาณ 50 กิโลเมตร และสามารถทํางานได้ดีแม้มีสิ่งกีดขวาง
       
        3.1.6 เครือข่ายเซลลูลาร์ (cellular network) หรือ เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่(mobile network) สามารถขยายพื้นที่การบริการได้อย่างต่อเนื่องในรูปแบบการแบ่งพื้นที่เป็นเซลล์ (cell)
                 เพื่อให้บริการเชื่อมต่อกันได้หมด ในแต่ละเซลล์จะมีการติดตั้งเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุเรียกว่าสถานีฐาน(base station) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ ซึ่งแต่ละเซลล์จะมีรัศมีของการให้บริการอยู่ที่ 250 เมตรถึง 30 กิโลเมตร ซึ่งปัจจุบันเป็นการเชื่อมต่อที่ได้รับความนิยมมาก และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องโดยมีพัฒนาการดังนี้


                1G เป็นมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคแรก ทํางานในระบบอนาล็อก ใช้สําหรับส่งสัญญาณเสียงเป็นหลัก
                2G เป็นมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 สื่อสารด้วยระบบดิจิทัล เริ่มมีการส่งข้อมูล (data) เช่นข้อความสั้น และสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
                3G เป็นมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 มีประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลได้เร็วขึ้น ทําให้สามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้
                4G เป็นมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 ถูกพัฒนาให้มีความสามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้นอีก จึงสามารถใช้มัลติมีเดียได้อย่างเต็มที่ เช่น ประชุมทางไกล ดูหนัง ฟังเพลง โดยไม่สะดุด นับได้ว่าเป็นมาตรฐานในยุคปัจจุบัน

บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต

       เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ รวมไปถึงความบันเทิง โดยผ่านบริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต เช่น

1. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW)





        เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการเรียกดูเว็บไซต์ โดยจะต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Google Chrome,Netscape Navigator, Mozilla Firefox เป็นต้น เดิมมีเพียงตัวอักษรและภาพนิ่ง แต่ปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia) คือเป็นการโต้ตอบระหว่างสื่อกับผู้ใช้ โดยมีทั้งรูปภาพข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ


2. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : E-mail)



         ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (e-mail) เป็นบริการรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือเป็นการส่งจดหมายจากต้นทางถึงผู้รับที่มีบัญชีอินเทอร์เน็ตด้วยกัน ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลสามารถทําได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการทํางานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา แต่สามารถส่งรูปภาพ และไฟล์รูปแบบต่าง ๆ แนบไปด้วยได้ การส่งอีเมลจะต้องประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้
           2.1 อีเมลแอดเดรส (E-mail address) เป็นที่อยู่ของผู้รับหรือผู้ที่ต้องการจะส่งอีเมลสําเนาไปถึงองค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วยส่วนประกอบพื้นฐาน 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (user name) และชื่อโดเมน (domain name) โดยในการเขียนจะมีเครื่องหมาย @ คั่นกลาง ดังนี้
username@domain_name
           2.2 หัวข้อ (Subject) เป็นข้อความสั้น ๆ สําหรับบ่งบอกหัวเรื่องที่จะส่ง โดยจะปรากฏให้เห็นที่กล่องจดหมายเข้าของผู้รับจดหมาย
           2.3 สิ่งที่แนบ (Attachment) เป็นไฟล์ชนิดต่าง ๆ ที่แนบไปพร้อมกับจดหมายที่ส่ง
           2.4 จดหมายหรือข้อความ (Message) จะเป็นส่วนของการเขียนข้อความ รายละเอียดที่ต้องการสื่อสารหรือแจ้งให้ผู้รับได้เข้าใจ และส่วนของการเขียนคําลงท้าย และส่วนสุดท้ายจะมีลายเซ็น(signature) ซึ่งจะบอกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ส่ง โดยทั่วไปจะเป็นชื่อผู้ส่ง ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ รวมถึงชื่อหน่วยงานและ ลายเซ็นผู้ส่ง

3. บริการถ่ายโอนไฟล์ (File Transfer Protocol : FTP)

        เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นิยมใช้เป็นเครื่องมือของผู้พัฒนาเว็บไซต์ในการอับโหลดและดาวน์โหลดไฟล์ระหว่างเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (server) และไคลเอนต์ (client) เอฟทีพีได้รับความนิยมในการถ่ายโอนไฟล์ตั้งแต่อดีตจนถึงกระทั่งปัจจุบัน สําหรับโปรแกรมเอฟทีพีที่นิยมใช้กันมาก เช่น WS_FTP, CuteFTP การถ่ายโอนไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้
           3.1 การดาวน์โหลดไฟล์ (download file) คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เช่น กรณีที่ทําการดาวน์โหลดโปรแกรมติดตั้งซอฟต์แวร์จากเครื่องบริการมาที่เครื่องของผู้ใช้
           3.2 การอัพโหลดไฟล์ (upload file) การอัพโหลดไฟล์ คือการนําไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทําการสร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (web server) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่

4. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Messaging : IM)

       เป็นบริการที่ทําให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ในแบบทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่าง ๆ รูปภาพ และไฟล์ข้อมูลได้ด้วย ในการใช้งานโปรแกรมอินสแตนท์เมสเซจจิง ผู้ใช้งานจะต้องลงทะเบียนกับผู้ให้บริการก่อน และจะต้องกําหนดรายชื่อเพื่อนหรือผู้ที่ต้องการติดต่อไว้กับเครื่องบริการด้วยเมื่อไรก็ตามที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตโปรแกรมนี้จะติดต่อไปยังเครื่องให้บริการ เพื่อแจ้งหรือแสดงสถานะให้เห็นว่าตนเองกําลังออนไลน์ จากนั้นผู้ใช้งานแต่ละคนที่กําลังออนไลน์ก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ รูปแบบของการสื่อสารจะเป็นการสนทนาด้วยการพิมพ์ข้อความ หรือติดต่อกันด้วยภาพ และเสียง (video conference)สามารถแชร์ไฟล์ และควบคุมการช่วยเหลือระยะไกลได้ องค์กรธุรกิจจํานวนมากได้นําคุณสมบัติการส่งข้อความแบบโต้ตอบนี้ในการดําเนินธุรกิจของตนเอง โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กําลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Google Hangout, Facebook Messenger, Line เป็นต้น

5. บริการสังคมออนไลน์ (Social Media หรือ Social Network)

       โซเชียลมีเดีย หมายถึงสังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราวประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทําขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนํามาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันผ่านทางเว็บไซต์สังคมออนไลน์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ต บริการของโซเชียลมีเดียโดยทั่วไปมีหลากหลายรูปแบบ เช่น บล็อกหรือเว็บบล็อก วิกิ พ็อดคาสท์ไมโครบล็อก เฟซบุ๊คกูเกิ้ลพลัส และลิงค์อิน เป็นต้น
           5.1 บล็อก (Blogs) หรือ เว็บบล็อก (Weblogs) เป็นเครื่องมือที่สร้างเว็บส่วนตัวเพื่อติดต่อกับเพื่อนและครอบครัวโดยการเขียนข้อความบอกเล่าเรื่องราวที่ประทับใจ การเขียนบล็อกเป็นการจัดเรียงเวลาและข้อความที่เขียนล่าสุดขึ้นก่อน ผู้ใช้ที่เข้าไปอ่านสามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นได้ บางบล็อกจะคล้ายกับเป็นไดอารี่ออนไลน์ ผู้เขียนบล็อกจะเขียนในเรื่องราวส่วนตัว งานอดิเรก หรือเรื่องราวที่ผู้เขียนสนใจอยากจะเล่าและแชร์ประสบการณ์ให้คนอื่นได้รับรู้ เว็บบล็อกที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ Blogger และWordPress เป็นต้น
           5.2 วิกิ (wiki) เป็นเว็บไซต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าไปแก้ไขเนื้อหาข้อมูลในเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ แต่จะมีผู้ดูแลที่ได้รับการเสนอชื่อจากผู้เข้าใช้เว็บไซต์ช่วยดูแลกลั่นกรองเนื้อหา วิกิถูกสร้างมาเพื่อความร่วมมือในการเขียนของกลุ่มคนที่มีความสนใจและเชี่ยวชาญในเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อสร้างฐานความรู้          
           5.3 พ็อดคาสท์ (Podcast) เป็นการนําเสนอสื่อบันเทิงจําพวกเพลง และภาพยนตร์ผ่านสื่อกลางอินเทอร์เน็ตไปสู่คอมพิวเตอร์ ให้ผู้ชมสามารถรับชมและรับฟังได้ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยปกติแล้วพ็อดคาสท์จะเป็นเทปบันทึกเสียงหรือวิดีโอต้นฉบับ แต่ในบางครั้งก็อาจเป็นเทปบันทึกรายการโทรทัศน์หรือรายการวิทยุที่ออกอากาศจริง การบรรยาย การแสดง หรืออีเวนท์อื่น ๆ เปรียบได้กับสถานีที่รวมทั้งวิทยุ และโทรทัศน์
ออนไลน์ มาไว้ในที่เดียวกัน ผู้ใช้สามารถเลือกจะสมัครเป็นสมาชิกรายการต่าง ๆ ในพ็อดคาสท์ได้ และดาวน์โหลดมาเก็บไว้ฟังในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา สิ่งที่พิเศษของพ็อดคาสท์ก็คือ ผู้ใช้สมัคร (subscribe) รายการที่สนใจไว้กับผู้ผลิต หากมีรายการใหม่ ๆ อัพโหลดขึ้นมา รายการเหล่านั้นจะถูกดาวน์โหลดเข้ามาในเครื่องของผู้ใช้ได้แบบอัตโนมัติ ตัวอย่างโปรแกรมที่ได้รับความนิยมมากก็คือ iTune ของค่าย Apple
           5.4 ไมโครบล็อก (Microblog) เป็นการเผยแพร่ข้อความหรือประโยคที่เขียนขึ้นมาสั้น ๆ อาจเป็นไฟล์รูปภาพ หรือสื่อผสมที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก การเขียนแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ กะทัดรัดมากกว่าบล็อก ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถเลือกหัวข้อจากบล็อกอื่นให้มาปรากฏในไมโครบล็อกของตนเอง หรือติดตามสมาชิกอื่น ๆ ได้ ไมโครบล็อกถูกออกแบบมาเพื่อให้เพื่อนหรือผู้ติดตามได้อับเดทกิจกรรมหรือเรื่องที่เจ้าของบล็อกสนใจ ปัจจุบันไมโครบล็อกที่นิยมอย่างแพร่หลาย คือ ทวิตเตอร์ (Twitter) ที่สามารถให้โพสต์จากเว็บเบราว์เซอร์ แอปพลิเคชั่นสําหรับส่งข้อความ หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือ
           5.5 เฟซบุ๊ค (Facebook) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่มีจุดเริ่มจากกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาวาร์ด โดยมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberk) และกลุ่มเพื่อน ๆ ได้สร้างเครือข่ายสําหรับกลุ่มเพื่อนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยได้แชร์เรื่องราว กิจกรรม ให้เพื่อนนักศึกษาด้วยกันทราบ ต่อมาได้รับความนิยมมากขึ้นจนกลายเป็นชุมชนออนไลน์ มีผู้ใช้กว่าพันล้านบัญชีรายชื่อ ผู้ใช้สามารถสร้างข้อมูลส่วนตัว เพิ่มรายชื่อผู้ใช้อื่นในฐานะเพื่อนและแลกเปลี่ยนข้อความ แบ่งปันรูปภาพ วีดีโอ เล่นเกมร่วมกันได้รวมถึงได้รับแจ้งโดยทันทีเมื่อผู้ใช้งานปรับปรุงข้อมูลส่วนตัว นอกจากนั้นผู้ใช้ยังสามารถร่วมกลุ่มความสนใจส่วนตัว จัดระบบตาม สถานที่ทํางาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรืออื่น ๆ เฟซบุ๊กอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าสมัครลงทะเบียนกับเฟซบุ๊ก โดยต้องมีอายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป
           5.6 กูเกิ้ลพลัส (Google+) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ให้บริการโดยกูเกิ้ล เป็นการผสมผสานการบริการต่าง ๆ ของกูเกิ้ลที่มีอยู่ก่อนหน้านี้กับการบริการใหม่ ๆ เช่น กูเกิลบัซซ์, กูเกิลโพรไฟล์, กูเกิลทอล์ก, ไซเคิล, แฮงเอาท์สปาร์ก เป็นต้น ปัจจุบันได้มีการรับรองการทํางานผ่านเว็บเบราว์เซอร์แอปพลิเคชันของแอนดรอยด์ และ แอปพลิเคชันของไอโอเอสสําหรับไอโฟน
           5.7 ลิงค์อิน (LinkedIn) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ชั้นนําทางธุรกิจ แม้ว่าจะไม่มีขนาดใหญ่เหมือนกับเฟชบุ๊กหรือกูเกิ้ลพลัส แต่เป็นเว็บไซต์ที่มุ่งเน้นความเชี่ยวชาญด้านอาชีพ เป็นเครื่องมืออํานวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ การพัฒนาขยายธุรกิจ การค้นคว้าข้อมูลทางธุรกิจ และการค้นหางานและอื่น ๆ เป็นต้น เป็นต้น
           5.8 ยูทูบ (YouTube) เป็นบริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เน้นการแบ่งปันวิดีโอโดยเฉพาะ โดยให้ผู้ใช้ผลิตวิดีโอของตัวเองและนํามาแบ่งปันได้ฟรีบนอินเทอร์เน็ต ความนิยมของ YouTube นั้น ทําให้ผู้คนสนใจโทรทัศน์น้อยลง เพราะสามารถเลือกชมสิ่งต่างๆได้ตามที่ต้องการ (on demand) อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถจัดรายการต่าง ๆ โดยจัดทําช่อง (channel) ลงบน YouTube เพื่อขยายฐานลูกค้า และให้ผู้ชมสามารถเข้าชมย้อนหลังได้อีกด้วย

6. โปรแกรมการค้นหา

       โปรแกรมแกรมการค้นหา (Search Engine) เป็นโปรแกรมพิเศษที่ช่วยในการค้นหาสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย เว็บไซต์ที่มีบริการการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต เช่น ยาฮู (Yahoo) กูเกิ้ล เป็นต้นการบริการการค้นหาข้อมูลที่ต้องการบนอินเทอร์เน็ต แบ่งการบริการการค้นหาได้เป็น 2 รูปแบบได้แก่
           6.1 การค้นหาข้อมูลแบบใส่คําหลักหรือคําสําคัญ (Keyword Search) ของสารสนเทศที่ต้องการจะค้นหา โปรแกรมค้นหาจะเทียบเคียงคําที่ใส่ลงไปในฐานข้อมูลที่มีอยู่ แล้วรายงานจํานวนรายการเว็บไซต์ที่ค้นเจอ (Hit) พร้อมแสดงรายการเว็บไซต์กลับมายังหน้าเว็บแรกของการค้นหา ผลการค้นหาจากคําหลักจะปรากฏขึ้นเป็นจํานวนมาก ตัวอย่างเช่น หากต้องการค้นหาคําว่าเข็มทิศ (Compass) จะพบข้อมูลมากมายที่ตรงกับคําว่าเข็มทิศ ดังภาพที่ 2.18
           6.2 การค้นหาแบบไดเรกเทอรี่ (directory search) หรือเป็นการค้นหาแบบหมวดหมู่ เป็นการค้นหาสารสนเทศที่ต้องการโดยระบุไดเรกทอรี่หรือรายการที่ต้องการที่แยกตามประเภท หมวดหมู่ หรือหัวข้อเช่น สุขภาพ บันเทิง ข่าว การเงิน เศรษฐกิจ เป็นต้น เมื่อเลือกหัวข้อที่ต้องการจะปรากฏรายการหัวข้อย่อยภายใต้หัวข้อหลักที่เลือก ผู้ใช้จะเลือกหัวข้อย่อยที่ตรงตามความต้องการลงไปเรื่อย ๆ จนปรากฏรายงานเว็บไซต์ที่ต้องการ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาแบบไดเรกเทอรี่ได้แก่ dir.sanook.com และdir.yahoo.com เป็นต้น
ชีวิตกับอินเตอร์เน็ต

ชีวิตกับอินเตอร์เน็ต
             
        เราจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันสิ่งที่มีอิทธิกับชีวิตของเรานั้นส่วนใหญ่จะเป็นเทคโนโลยี อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟน เป็นต้นแต่มีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนนั้นขาดไม่ได้คือ อินเตอร์เน็ตอินเตอร์เน็ตเปลี่ยนแปลงชีวิตเราไปมาก จากเดิมเรามีคอมพิวเตอร์เพียงเพื่อทํางาน มีโทรศัพท์มือถือไว้แค่พูดคุยเท่านั้น แต่เมื่อมีอินเตอร์เน็ตเข้ามาทําให้มีกิจกรรมอื่น ๆ ที่เราสมารถทําได้เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การค้นหาข้อมูล ความบันเทิง ด้านธุรกิจและพาณิชย์ และที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นโซเชียลเน็ตเวิร์กต่าง ๆ

1. ด้านธุรกิจและพาณิชย์



        เราสาสามารถทําธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตหลาย ๆ อย่างได้ เช่น ดูยอดเงินคงเหลือ โอนเงิน หรือชําระค่าบริการต่าง ๆ โดยไม่จําเป็นต้องไปรอคิวนาน ๆ ที่ธนาคาร ไม่ว่าจะผ่านทางบริการอินเทอร์เน็ตแบ็งค์กิง (internet banking) บนเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นมือถือ
       นอกจากการทําธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารแล้ว เรายังสามารถซื้อ ขายสินค้าทุกประเภทได้อีกด้วยไม่ว่าจะเป็นการซื้อโดยตรงกับผู้ขาย หรือรวมไปถึงการประมูลสินค้าก็ทําได้เช่นกัน โดยนอกจากมีการซื้อขายผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กแล้วนั้น ยังมีเว็บไซต์สําหรับซื้อขายสินค้าโดยเฉพาะอีกด้วย ซึ่งเราเรียกเว็บไซต์ประเภทนี้ว่าอีคอมเมิร์ซ (e-commerce) เว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมในตอนนี้คือเว็บไซต์ขายสินค้าจากประเทศจีนAliexpress

2. ข้อมูลข่าวสารและการศึกษา
        อินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ และคลังข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลโดยในปี 1990 มีเพียงเว็บไซต์เดียวคือ http://info.cern.ch/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานที่ได้คิดค้นและพัฒนาอินเทอร์เน็ตขึ้นมา และในทุก ๆ วันจะมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์มากขึ้นทุกปี
       ก่อนการมาถึงของ Facebook และ Twitter นั้น เว็บไซต์ข่าวสารต่าง ๆ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการรวบรวมเอาข่าวสารทุกแขนงมาไว้ที่เดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น การเมือง กีฬา หรือบันเทิงเว็บไซต์เหล่านี้มีชื่อเรียกว่า Web portal หรือ เว็บท่า เพื่อแสดงข่าวสารและเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ ได้แก่
           2.1 Yahoo อดีต search engine รายใหญ่ที่พ่ายแพ้ให้แก่ Google และผันตัวเองมาเป็น Webportal
           2.2 MSN มีไมโครซอฟท์ บริษัทซอฟท์แวร์ยักษ์ใหญ่เป็นเจ้าของ
           2.3 Sanook เว็บไซต์แรก ๆ ของประเทศไทย แหล่งรวมข่าวและความรู้มากมาย
           2.4 CNN สํานักข่าวระดับโลก รายงานข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกทันท่วงทีตลอด 24 ชั่วโมง
           2.5 TIME หนังสือพิมพ์ชื่อดังที่ขยับมาเป็นเว็บไชต์ข่าวบนอินเทอร์เน็ต
           2.6 เว็บบอร์ด (Web board) กระดานถาม-ตอบเป็นบริการที่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ยุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ต ก่อนที่จะมี instant messaging หรือ แชทเกิดขึ้น มีไว้เพื่อให้แลกเปลี่ยนความเห็นในหลายๆ แง่มุม ปัจจุบันเว็บบอร์ด ได้รับความนิยมน้อยลงตามกาลเวลา หลังจากการเจริญเติบโตของ socialnetwork เว็บบอร์ดที่ได้รับความนิยมในประเทศ คือ Pantip.com
           2.7 Google maps เราสามารถค้นหาสถานที่ต่าง ๆ ทุกมุมโลกได้เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ต โดยใช้บริการ Google maps ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ร้านค้า ๆ รวมไปถึงยังใช้เป็นอุปกรณ์นําทางในการเดินทางบนสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย
           นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตยังประกอบไปด้วยเว็บไซต์ข้อมูลต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นทางวิทยาศาสตร์ประวัติศาสตร์ กีฬา รวมไปถึงเรื่องลี้ลับต่าง ๆ มากมาย ซึ่งการค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ เหล่านั้นเราจําเป็นต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่า search engine โดย search engine ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกคือGoogle นั่นเอง

3. ความบันเทิง
       



          นอกจากสาระและความรู้แล้ว อินเทอร์เน็ตยังเป็นช่องทางความบันเทิงที่สะดวกและประหยัดอีกด้วยไม่ว่าจะเป็น ข่าวสารความบันเทิง ซุบซิบดารา หรือ ภาพยนตร์เข้าใหม่ ที่เราสามารถติดตามได้จากเว็บ portalได้แล้วนั้น ยังมีความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เป็นที่นิยมบนอินเทอร์เน็ต ได้แก่
           3.1 YouTube Social media ผู้ให้บริการวิดีโอ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ผู้ใช้ส่วนใหญ่นิยมค้นหาคลิปที่สนใจ มิวสิควิดีโอใหม่ ๆ รวมไปถึงรายการทีวีย้อนหลังอีกด้วย ปัจจุบันมีบริการที่มีชื่อว่าYouTube RED เป็นการจ่ายค่าบริการเพื่อแลกกับการที่ไม่มีโฆษณา รวมถึงช่องพิเศษที่มีบน YouTube REDเท่านั้น
           3.2 TuneIn เป็นบริการวิทยุผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเราสามารถดาวน์โหลดมาฟังในขณะที่เราไม่มีอินเทอร์เน็ตใช้ได้ ได้รับนิยมอย่างสูงในต่างประเทศ แต่ยังไม่มีให้บริการในประเทศไทย
           3.3 เกมออนไลน์ อินเทอร์เน็ตทําให้เราเล่นเกมได้สนุกขึ้น แข่งขันกันมากขึ้น และ แบ่งปันกันมากขึ้น เราสามารถร่วมเล่นเกมกับเพื่อนได้ทุกมุมโลก และยังแลกเปลี่ยนซื้อขายสิ่งของในเกมได้อีกด้วย ได้แก่เกมเศรษฐี และ ingress ซึ่งเป็นเกมที่ผนวกแผนที่ และสถานที่จริงในโลกเข้าไปอีกด้วย
โดยทั่วไปแล้วเราใช้อินเทอร์เน็ตบนอุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รวมไปถึงโทรทัศน์บางรุ่น หากลองจินตนาการดูว่า ถ้าอุปกรณ์อื่น ๆ สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ โลกนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น ตู้เย็น รถยนต์ ระบบไฟฟ้าในบ้าน เราเรียกอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นแบบมีสายหรือไร้สายว่า Internet of Things (IoT)
       หากมองภาพให้กว้างขึ้น และมี internet of things อยู่ทั่วไปในชีวิตประจําวันเราจะสามารถ
1) ทราบได้ว่ามีที่จอดรถบริเวณใดยังว่างอยู่บ้าง
2) ทราบได้ว่ารถประจําทางที่รออยู่จะมาถึงเมื่อไหร่
3) ถนนเส้นใดมีอุบัติเหตุปละควรเลี้ยงไปทางไหน
4) ป้ายโฆษณาจะเปลี่ยนไปตามสินค้าที่เราต้องการเมื่อเดินผ่าน

โทษของอินเทอร์เน็ต





       ทุกอย่างล้วนมีทั้งคุณและโทษเสมอ อินเทอร์เน็ตก็เช่นกัน เรามักใช้อินเทอร์เน็ตในแทบทุกิจจกรมตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนจนหลาย ๆ คน มีพฤติกรรมเสพติดอินเทอร์เน็ต จนแทบไม่ได้ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจนมีคํากล่าวว่า ทุกวันนี้เราอยู่ใน “สังคมก้มหน้า”
       หลาย ๆ คนมีอาการเสพติดโซเชียลเน็ตเวิร์ก จําเป็นต้องอัพเดทสถานะตลอดเวลา กด Like และแชร์ทุกอย่าง ซ้ําร้ายกว่านั้น ยังมีอาการเสพติดความสนใจจากผู้อื่น อยากเป็นคนเด่นคนดังบนโซเซียล โดยทําทุกวิถีทางเพื่อให้มีผู้คนสนใจมากที่สุด ร้ายไปถึงการเปลื้องผ้า และโพสรูปวาบหวิวเป็นต้น

         การพัฒนาด้านระบบการสื่อสารทําให้ปัจจุบันเราสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจากที่ใดก็ได้ โดยผู้ใช้จะต้องทําการเชื่อม...